การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบันหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
Tuesday, 25 August 2015
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก
๑.๑ ผจญมาร เมื่อพระมหาสัตว์ ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น
“อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้” พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า “บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดียวนี้” อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
ศาสนพิธี
การบูชาพระประจำวัน ชาวพุทธผู้เลื่อมใสเคร่งครัดในพุทธศาสนาจะนิยมทำการบูชาพระประจำวัน วันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนออกจากบ้านและก่อนนอน
การบูชาพระก่อนออกจากบ้าน นั่งคุกเข่าต่อหน้าพระที่จะบูชาแล้วจุดเครื่องสักการะบูชา คือ จุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปแล้วจุดเทียนด้านซ้าย ต่อมาก็จุดธูป 3 ดอก ปักไว้ในกระถางแล้วกราบพระรัตนตรัย แบบเบญจางคประดิษฐ์ อ่านเพิ่มเติม
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
ศาสนพิธี
การบูชาพระประจำวัน ชาวพุทธผู้เลื่อมใสเคร่งครัดในพุทธศาสนาจะนิยมทำการบูชาพระประจำวัน วันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนออกจากบ้านและก่อนนอน
การบูชาพระก่อนออกจากบ้าน นั่งคุกเข่าต่อหน้าพระที่จะบูชาแล้วจุดเครื่องสักการะบูชา คือ จุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปแล้วจุดเทียนด้านซ้าย ต่อมาก็จุดธูป 3 ดอก ปักไว้ในกระถางแล้วกราบพระรัตนตรัย แบบเบญจางคประดิษฐ์ อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนควรมีความรู้ในหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญแห่งชีวิต อันได้แก่ จักร 4 และทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 โดยสามารถนำปัญญาที่ประกอบด้วยธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 และมรรคมีองค์ 8 เข้าตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต เพื่อความผาสุกแก่ตนเองและสังคม อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต
พระไตรปิฎกมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ออกเป็นหมวดหมู่ และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว ในระยะแรก พระไตรปิฎกถ่ายต่อกันมาโดยการท่องจำปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 460 จึงมีการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสืบทอดมาพร้อมกับพระไตรปิฎก จากสมัยพุทธกาลจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2,500 ปี พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม
Subscribe to:
Posts (Atom)